21 May 2009

“พระพุทธศาสนาแพร่สู่ประเทศไทยสมัยก่อนสุโขทัย”(ตอนที่1)


ในพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะ ซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่กรุงปาฏลีบุตรแคว้นมคธในอินเดีย ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจึงโปรดให้ส่งธรรมทูต อัญเชิญพระพุทธศาสนาจาริกเผยแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ ทั้งในอินเดียและประเทศอื่นๆ และเชื่อกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่าพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คือแบบที่เรานับถือในปัจจุบัน ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยนั้น ชาวอินเดียสมัยก่อนพุทธกาลเคยไปมาค้าขายติดต่อกับสุวรรณภูมินี้อยู่เสมอ ชาวสุวรรณภูมิจึงไม่รังเกียจพระพุทธศาสนาที่ชาวอินเดียนำมาเผยแผ่ ส่วนสุวรรณภูมินี้เข้าใจว่าน่าจะได้แก่บริเวณตั้งแต่ตอนใต้ของพม่าปัจจุบันนี้ (ซึ่งสมัยต่อมา เป็นอาณาจักรมอญ) เลยตลอดลงมาถึงภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดนครปฐมซึ่ง มีพวกมอญและละว้าเป็นคนพื้นเมือง เนื่องด้วยบริเวณจังหวัดดังกล่าวปรากฏทรากโบราณสถานมากมายล้วน แต่ใหญ่โต สร้างตามคติเก่าถึงครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชก็มี เช่น พระสถูปพระปฐมเจดีย์องค์เดิมซึ่งอยู่ภายใน พระสถูปใหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ตามรูปเดิมสร้างเป็นทรงโอคว่ำอย่างพระสถูปสัญจิในอินเดีย เป็นหลักฐานว่า พระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นลง ณ ภาคกลางแห่งประเทศไทย แล้วเจริญงอกงามพัฒนาตลอดมาและได้พัฒนารุ่ง เรืองแพร่หลายทั่วไปในแหลมอินโดจีน ยกเว้นดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรนี้ซึ่งเป็นดิน แดนเวียดนามตอนเหนือ

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ทางประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้เจริญขึ้น พุทธมามกะชาว อินเดียได้นำลัทธิมหายานออกมาสั่งสอนแพร่หลายในคาบสมุทรแห่งนี้ โดยเดินทางมาทางบกผ่านแคว้นแบงกอล เข้ามาทางพม่าตอนเหนือก็มี เดินทางมาทางทะเลขึ้นที่แหลมมลายู สุมาตรา และแล่นเรืออ้อมอ่าวเข้ามา ทางประเทศกัมพูชาในปัจจุบันก็มี ในระหว่างนั้นได้เกิดมีอาณาจักรฟูนันคือบริเวณดินแดนกัมพูชาในปัจจุบันและเลย เข้ามาในประเทศไทยตอนกลางและถึงภาคอีสานด้วย ปรากฏว่าประชาชนชาวฟูนันนับถือพระพุทธศาสนาทั้ง ฝ่ายเถรวาทและมหายาน จนถึงกับมีสมณทูตชาวฟูนันเดินทางไปแปลพระคัมภีร์ในประเทศจีน ถึงศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรฟูนันก็เสื่อมโทรมไป ด้วยถูกอาณาจักรเจนละซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นฟูนันมาก่อนแย่งอำนาจ พวกเจนละนับถือศาสนาพราหมณ์ ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงชะงักความเจริญระยะหนึ่ง
ในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ขณะที่อิทธิพลของฟูนันสั่นคลอนก็ปรากฏว่าพวกมอญในลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาถือโอกาสประกาศอิสรภาพตั้งเป็นอาณาจักรทวาราวดี แล้วเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วทั้งในด้านศิลปะและการพระศาสนา โดยรักษาจารีตของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งรับมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชไว้อย่างเคร่งครัด ศูนย์กลางของทวาราวดีก็คงอยู่ที่นครปฐมนั่นเอง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ปรากฏว่าอานุภาพ ของทวาราวดีได้ขยับขยายเหนือขึ้นไปจนถึงลพบุรีและได้แผ่ขึ้นไป จนถึงภาคเหนือของประเทศไทยเป็นเหตุหนึ่ ที่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากทวาราวดีได้ไปตั้งมั่นทางภาคเหนือ ตกราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ อาณาจักรเจน ละ ได้เปลี่ยนเป็นประเทศเขมรโบราณ อิทธิพลของเขมรโบราณได้แผ่ครอบงำแทนที่อาณาจักรทวาราวดี

ราวพระพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ในสมัยที่อาณาจักรทวาราวดีกำลังรุ่งเรืองอยู่นั้นปรากฏว่าทางภาคใต้ของ ประเทศไทยได้เกิดอาณาจักรศรีวิชัยขึ้นที่แหลมมลายู มีอาณาเขตทางเหนือติดกับอาณาจักรทวาราวดี เดิมพล เมืองในอาณาจักรศรีวิชัยนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยาน ต่อมาราชวงศ์ปาละแห่งมคธอินเดียตอนใต้มีอำนาจขึ้น กษัตริย์ราชวงศ์นี้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานโดยเฉพาะคือนิกายมนตรยาน ราชวงศ์ไศเลนทระแห่ง อาณาจักรศรีวิชัยซึ่ง ณ บัดนั้นได้แผ่อำนาจราชศักดิ์ครอบงำทั่วคาบสมุทรทะเลใต้และแหลมมลายูแล้วได้มี สัมพันธไมตรีกับราชสำนักปาละ จึงพลอยได้รับลัทธิมหายานนิกายมนตรยานเข้ามานับถือด้วย ลัทธิมหายานได้เป็น ศาสนาประจำของจักรวรรดิศรีวิชัยซึ่งเป็นจักรวรรดิมลายูตลอดระยะกาลแห่ง พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๗๐๐ ปีเศษ

0 comments:

Post a Comment

free counters